Home » ผลประกอบการบริษัทอสังหาฯมหาชนปี’67 หดตัวตามภาวะเศรษฐกิจ

ผลประกอบการบริษัทอสังหาฯมหาชนปี’67 หดตัวตามภาวะเศรษฐกิจ

โดย Reporter 1
131 views

ทยอยประกาศผลประกอบการปี 2567 ออกมากันอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ที่ประกาศผลประกอบการของปี 2567 ออกมากันครบแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่มีรายได้รวมลดลง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2567 แต่ก็มีอีกหลายบริษัทที่มีรายได้รวมเพิ่มมากขึ้น เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านี้ สวนทางกับทิศทางการเติบโตของตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2567

ซึ่งศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ได้รายงานว่า มูลค่ารวมของยอดโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั้งปี 2567 ลดลงจาก ปี 2566 ประมาณ 6.3% จากปัจจัยลบรอบด้าน ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย รวมไปถึงปัญหาของการขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ค่อนข้างลำบาก เพราะสถาบันการเงินเข้มงวดในการอนุมัติวงเงินสินเชื่อ ส่งผลให้การโอนกรรมสิทธิ์ในปี 2567 ลดลง ทั้งในส่วนของจำนวนและมูลค่ารวม ทำให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่พยายามหาช่องทางในการสร้างรายได้แบบต่อเนื่องตลอดปี 2567 ที่ผ่านมา

             ตารางแสดงรายได้รวมและกำไรสุทธิปี 2567ของผู้ประกอบการอสังหาฯในตลาดหลักทรัพย์

อันดับบริษัทรายได้รวม% เปลี่ยนแปลงจากปีก่อนหน้ากำไรสุทธิ% เปลี่ยนแปลงจากปีก่อนหน้า
1แสนสิริ           39,2052.0%        5,253-13.3%
2เอพี (ไทยแลนด์)           37,460-2.4%        5,020-17.1%
3ศุภาลัย           31,9850.5%        6,1903.3%
4แลนด์แอนด์เฮ้าส์           28,151-6.7%        5,491-26.6%
5พฤกษา โฮลดิ้ง           20,996-19.7%        4,561-79.3%
6เอสซีแอสเสท คอร์ปอเรชั่น           20,302-15.2%        1,706-31.3%
7สิงห์ เอสเตท           15,362-3.6%        1,45733.4%
8เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้           14,566-13.3%        1,438-22.3%
9ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้           11,985-20.9%        1,052-61.3%
10แอสเซทไวส์            9,94139.1%        1,45733.4%
11ควอลิตี้เฮ้าส์            8,695-5.9%        2,150-14%
12แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเม้นท์            8,0117.6%           111-69%
13อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์            6,68575.0%           334N/A


คุณสุรเชษฐ กองชีพ หัวหน้าฝ่ายวิจัยและที่ปรึกษา คุชแมน แอนด์ เวคฟีลด์ ประเทศไทย
มองว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์มีรายได้รวมในปี 2567 ลดลงคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 15% เมื่อเทียบกับปี 2566 แต่ก็มีผู้ประกอบการบางรายเช่นกันที่มีรายได้เพิ่มขึ้น หรือลดลงจากปีก่อนหน้านี้ไม่มาก หรือลดลงประมาณ 2 – 3% เท่านั้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าตลาดที่อยู่อาศัยยังมีกำลังซื้ออยู่ในตลาดต่อเนื่อง ขึ้นอยู่กับว่าผู้ประกอบการรายใดจะเข้าถึงและสามารถดึงดูดให้ผู้ซื้อจองและโอนกรมสิทธิ์ได้มากกว่ากัน

สำหรับผู้ประกอบการที่มีรายได้มากที่สุดในปี 2567 ใน 5 อันดับแรก คือ แสนสิริ มีรายได้รวมทั้งปี 2567 ประมาณ 39,204 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ประมาณ 2%  ตามมาด้วย เอพี (ไทยแลนด์) มีรายได้รวมประมาณ 37,460 ล้านบาท และ ศุภาลัย มีรายได้ประมาณ 31,985 ล้านบาท ส่วน แลนด์แอนด์เฮ้าส์ มีรายได้รวม 28,151 ล้านบาท และ พฤกษาฯ มีรายได้รวม 20,996 ล้านบาท

ทั้งนี้ใน 5 อันดับแรกนี้ ครองผู้นำตลาดที่อยู่อาศัยมาต่อเนื่องทั้งรายได้และยอดขาย โดยผู้ประกอบการบางรายอาจเคยครองตำแหน่ง อันดับที่ 1 หรือ อันดับ 2 ต่อเนื่องมายาวนาน แต่ด้วยภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป รวมไปถึงโฟกัสของผู้ประกอบการที่เปลี่ยนไปมีผลต่อรายได้รวมเช่นกัน

ส่วนของกำไรสุทธิในกลุ่ม 5 อันดับแรก มีเพียง ศุภาลัย เท่านั้นที่มีผลกำไรเป็นบวกเมื่อเทียบกับกำไรสุทธิของปี 2566 ขณะที่ผู้ประกอบการรายอื่นๆ มีกำไรลดลงไม่มากหรือมีนัยสำคัญอะไรต่อผลประกอบการมากนัก โดยเฉพาะ แสนสิริ และเอพี (ไทยแลนด์) ที่ลดลง 13.3% และ17.1% ตามลำดับ เนื่องจากผลกำไรยังมีมูลค่าเกิน 5 พันล้านบาท ซึ่งกำไรที่ลดลงในปีที่ผ่านมาอาจจะชดเชยกลับมาในปี 2568 นี้ก็เป็นไปได้ แม้ว่าสภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปีนี้จะยังไม่ฟื้นตัว และมีทิศทางที่ต้องจับตามองอยู่ก็ตาม

อย่างไรก็ตามในปี 2568 ผู้ประกอบการรายใหญ่มีแผนจะเปิดขายโครงการใหม่มากกว่าปี 2567 และยังคงเป็นการขับเคี่ยวกันของ 3 รายหลัก คือ เอพี (ไทยแลนด์) ที่ประกาศแผนการลงทุนมีมูลค่าโครงการวมมากถึง 65,000 ล้านบาท จากจำนวน 42 โครงการ

ในขณะที่ แสนสิริ เปิดขายโครงการใหม่จำนวน 29 โครงการ เท่านั้น แต่มีมูลค่าโครงการมากถึง 52,000 ล้านบาท โดยโฟกัสไปที่กลุ่มสินค้าระดับบน-ลักชัวรีมากขึ้น ส่งผลให้มูลค่าเฉลี่ยต่อโครงการสูงกว่าผู้ประกอบการรายอื่นๆ และ ศุภาลัย มีโครงการเปิดขายใหม่จำนวน 36 โครงการ มูลค่ารวมประมาณ 46,000 ล้านบาท

ด้วยแรงกดันในตลาดที่อยู่อาศัยยังคงมีต่อเนื่องในปีนี้ แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะลดลงเหลือ 2% แล้วก็ตาม แต่มาตรการช่วยเหลือหรือมาตรการกระตุ้นธุรกิจอสังหาฯจากรัฐบาลยังไม่มีความเคลื่อนไหว

รวมไปถึงการที่ผู้ประกอบการทุกรายพยายามกดดันให้ธนาคารแห่งประเทศไทยผ่อนปรนเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อ การผ่อนปรนเกณฑ์ LTV ชั่วคราวเพื่อให้กำลังซื้อส่วนหนึ่งกลับเข้ามาในตลาด แต่ดูเหมือนจะยังไม่ได้รับการตอบรับจากหน่วยงานภาครัฐ หากเป็นแบบนี้เชื่อว่าปี 2568 จะยังเป็นอีกปีที่ตลาดที่อยู่อาศัยต้องเผชิญกับความท้าทายต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา

You may also like

The-Perspective แหล่งรวมองค์ความรู้ มุมมองจากผู้เชี่ยวชาญ เกาะติดข่าวสารคาดการณ์อนาคต

Tel:  081-619-9494
Email:
editor@the-perspective.co
naiyanaone@gmail.com

Total Visit:

206,631

206,631

Editors' Picks

Latest Posts

The-Perspective © All Right Reserved.

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการใช้งานของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อเก็บข้อมูลและรวบรวมสถิติวิจัยทางด้านการตลาด การวิเคราะห์แนวโน้ม ตลอดจนนำมาปรับปรุง และควบคุมการทำงานของเว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอม ท่านยังสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้ปกติ ยอมรับทั้งหมด