ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ได้เผยแพร่รายงานผลสำรวจ UOB Business Outlook Study ประจำปี 2567 ในประเทศไทย ซึ่งได้สำรวจความคิดเห็นผู้บริหารระดับสูงของธุรกิจขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ถึงความเชื่อมั่นและแนวโน้มทางธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ โดยผลสำรวจชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มที่น่าสนใจ ในด้านการขยายตลาดไปยังต่างประเทศ อุปสรรคต่อความยั่งยืน และการดำเนินธุรกิจแบบดิจิทัล
คุณวีระอนงค์ จิระนคร ภู่ตระกูล กรรมการผู้จัดการ Deputy CEO และ Wholesale Banking ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า เรามุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในทางบวก และส่งเสริมการเติบโตให้กับธุรกิจในประเทศไทยและในอาเซียน โดยมีเป้าหมายที่จะเป็นธนาคารชั้นนำในด้านการค้าและผลกระทบด้านความยั่งยืน วิสัยทัศน์ของเราคือการสร้างระบบนิเวศที่มีความเชื่อมโยงกันมากขึ้น ยั่งยืน และมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับลูกค้าของเรา
เมื่อมองไปในอนาคต การค้าข้ามพรมแดน การเงินที่ยั่งยืน และการจัดการซัพพลายเชนที่เป็นดิจิทัล เป็นพื้นที่หลักที่ธุรกิจกำลังมองหาการสนับสนุน เราได้ลงทุนในนวัตกรรมและสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับคู่ค้าและพันธมิตรอย่างต่อเนื่อง เพื่อมอบโซลูชันที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าของเรา
คุณวีระอนงค์ ได้อ้างอิงถึงรายงานผลสำรวจ Business Outlook Study ของธนาคาร เกี่ยวกับเทรนด์ที่น่าสนใจ ในหมู่ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดใหญ่ของไทย รวมถึงการสนับสนุนของธนาคารในเรื่องดังกล่าว ความสนใจที่เพิ่มขึ้นด้านการขยายการเติบโตในต่างประเทศธุรกิจไทยให้ความสำคัญกับการขยายการเติบโตระหว่างประเทศ
โดยเกือบร้อยละ 90 มีเป้าหมายที่จะขยายตลาดไปต่างประเทศภายในสามปีข้างหน้า อาเซียนและจีนแผ่นดินใหญ่ โดยเฉพาะเวียดนาม เป็นเป้าหมายหลักสำหรับการเติบโตนี้ โดยเฉพาะเวียดนาม ซึ่งเป็นคู่ค้าหลักของประเทศไทยในอาเซียน โดยมีมูลค่าการค้าทวิภาคีเกินกว่า 20 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2022
เมื่อพูดถึงการขยายการเติบโตในต่างประเทศ ธุรกิจกำลังเผชิญกับความท้าทาย เช่น การขาดแคลนบุคลากรภายในประเทศ การเข้าถึงฐานลูกค้าในต่างประเทศที่จำกัด และการขาดการสนับสนุนด้านกฎหมาย กฎระเบียบ และการปฏิบัติตามข้อกำหนด นี่คือจุดที่หน่วยงานให้คำปรึกษาด้านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของเราสามารถเข้ามาให้ความช่วยเหลือโดยใช้ความเชี่ยวชาญระดับภูมิภาคของธนาคาร เพื่อให้แน่ใจว่าการเข้าสู่ตลาดใหม่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล
ธนาคารยูโอบี ได้จัดตั้งหน่วยงานส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDIA) ตั้งแต่ปี 2554 ธนาคารได้สนับสนุนธุรกิจกว่า 4,200 บริษัทในการขยายธุรกิจในภูมิภาค ซึ่งมี 370 บริษัทได้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย และนับตั้งแต่ปี 2562 หน่วยงานนี้ได้ช่วยให้เกิดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในไทย รวมมูลค่ากว่า 1.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ และการจ้างงานอีกกว่า 18,000 ตำแหน่งทั่วประเทศไทย
ธุรกิจยังมีข้อจำกัดในการเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืนจากผลสำรวจ แม้ว่ากว่าร้อยละ 90 ของธุรกิจตระหนักถึงความสำคัญของความยั่งยืน แต่มีเพียงประมาณครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่ได้นำแนวปฏิบัติเหล่านี้ไปใช้ แรงจูงใจหลักในการนำแนวปฏิบัติเหล่านี้ไปใช้ได้แก่ การปรับปรุงภาพลักษณ์ของธุรกิจ (ร้อยละ 56) การดึงดูดนักลงทุน (ร้อยละ 50) และการรักษาบุคลากรที่มีความสามารถ (ร้อยละ 46)
ยูโอบีได้จัดทำกรอบการบริการทางการเงินเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Financing Frameworks) ครอบคลุมอาคาร สีเขียว เมืองอัจฉริยะ เศรษฐกิจหมุนเวียน การเงินการค้า อาหารและการเกษตร และการเงินเพื่อการเปลี่ยนผ่าน (Transition Finance) เพื่อช่วยธุรกิจในการเดินทางไปสู่เป้าหมายการลดคาร์บอน โครงการสำคัญภายใต้กรอบเหล่านี้ ได้แก่ โซลูชัน U-Drive, U-Solar และ U-Energy
นอกจากนี้ ธนาคารยังมี UOB Sustainability Compass ซึ่งเป็นเครื่องมือแรกในอุตสาหกรรม ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยเหลือธุรกิจเอสเอ็มอีในทุกอุตสาหกรรม ในการเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่ความยั่งยืน ด้วยการทำแบบประเมินออนไลน์ เพื่อรับรายงานที่ระบุแผนงานและขั้นตอนการดำเนินงานที่ชัดเจน ในปี 2023 ธนาคารได้ขยายการให้สินเชื่อที่ยั่งยืนเป็นมูลค่า 33.1 พันล้านบาท และประมาณร้อยละ 25 ของสินเชื่อที่ได้รับการอนุมัติใหม่เป็นสินเชื่อสีเขียว
การดำเนินธุรกิจแบบดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการนำดิจิทัลมาใช้ยังคงอัตราที่สูงในหมู่ธุรกิจไทย โดยเกือบร้อยละ 40 ได้นำโซลูชันดิจิทัลมาใช้ในทุกขั้นตอนของการดำเนินงาน ซึ่งเกินค่าเฉลี่ยระดับภูมิภาค การปรับสู่ดิจิทัลได้เพิ่มการเข้าถึงลูกค้า สร้างประสบการณ์อันดีแก่ลูกค้า และเพิ่มความเร็วในการเข้าสู่ตลาด อย่างไรก็ตาม การปรับใช้ดิจิทัลกับการจัดการห่วงโซ่อุปทาน และการจัดการคู่ค้ายังคงตามหลังอยู่
ยูโอบีตอบสนองความต้องการเหล่านี้ ผ่านการจัดการห่วงโซ่อุปทานทางการเงินดิจิทัล (FSCM) ฟีเจอร์ใหม่บนบริการธนาคารดิจิทัลสำหรับลูกค้าธุรกิจนี้ ช่วยให้การดำเนินธุรกิจง่ายขึ้นและเพิ่มประสิทธิภาพผ่านแพลตฟอร์มเดียว
โดยสามารถช่วยธุรกิจบริหารจัดการคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทานทั้งหมด ตั้งแต่การจัดซื้อ การรับชำระเงิน การผลิตไปจนถึงการขาย การออกใบแจ้งหนี้และการติดตามหนี้ โดยการเปลี่ยนจากการทำงานแบบดั้งเดิมที่มีเอกสารมากมาย ไปสู่กระบวนการดิจิทัล ช่วยให้ธุรกิจได้รับความสะดวก รวดเร็ว และมีความโปร่งใส สร้างการจัดการห่วงโซ่อุปทานที่มีประสิทธิภาพและแข็งแกร่ง พร้อมรองรับการเติบโตของธุรกิจ
“ด้วยการทำงานอย่างใกล้ชิดกับลูกค้าและพันธมิตร ยูโอบีจึงเข้าใจถึงภูมิทัศน์ธุรกิจในปัจจุบันที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป และความสำคัญที่เพิ่มขึ้นของการปรับใช้เรื่องความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ ด้วยจุดแข็งหลักของเราในฐานะธนาคารชั้นนำระดับภูมิภาค ที่มีรากฐานมั่นคงในประเทศไทย เรามุ่งมั่นที่จะเป็นธนาคารผู้นำด้านการค้าระหว่างประเทศ และด้านผลกระทบทางความยั่งยืน และมั่นใจว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ได้”