Home » Digital Nomad บุกไทย

Digital Nomad บุกไทย

535 views

บทความโดย ทินกร เหล่าเราวิโรจน์ CEO และนักพัฒนาซอฟต์แวร์ บริษัท นายเน็ต จำกัด

หลายครั้งหลายหนเรามักจะได้ยินว่า ชาวต่างชาติเข้ามาอาศัยอยู่แบบ Long Stay ในประเทศไทย เพื่อทำงานไปด้วยและบางช่วงบางวันก็พักผ่อนไปด้วย ซึ่งปัจจุบันคนกลุ่มนี้มีมากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะมากขึ้นเรื่อยๆ จนมีคำเฉพาะที่เรียกกันว่า Digital Nomad  

Digital Nomad  คือใคร?

ก็คือ คนที่สามารถทำงานที่ไหนก็ได้ และมักเลือกไลฟ์สไตล์การเดินทางไปใช้ชีวิตในที่ต่างๆ แทนการใช้ชีวิตจำกัดอยู่เฉพาะเมืองใดเมืองหนึ่งแบบเดิมๆ ซึ่งแน่นอนว่า Digital Nomad มักจะทำงานโดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ จึงทำงานที่ใดก็ได้ ขอแค่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ก็พอ

บุกไทยกันเต็มที่

ประเด็น Digital Nomad จะไม่ได้น่าสนใจเลย ถ้าประเทศไทยไม่ได้กลายเป็นเป้าหมายอันดับ 1 ในใจของ Digital Nomad ทั่วโลก ตามข้อมูลของ Nomadlist แพลตฟอร์มออนไลน์ของเหล่า Nomad ทั่วโลกพบว่า Destination อันดับ 1 คือ กรุงเทพฯ และอันดับ 2 คือ เชียงใหม่ ตามด้วย ภูเก็ต มาเป็นอันดับ 6 รวมทั้งยังมีอีกหลายเมืองของไทย ซึ่งเพียงแค่เฉพาะแพลตฟอร์มนี้ที่เดียว ก็มี Digital Nomad ที่ลงเช็กอินว่ากำลังอยู่ในกรุงเทพฯ แล้วเกือบ 2 หมื่นราย

ไทยได้หรือเสีย

ในมุมนี้ตอบขอตอบว่า “ได้มากกว่าเสียแน่ๆ” แต่ต้องถามใจคนไทยด้วยกันว่าเห็นเทรนด์แบบนี้แล้วเราอยากต่อยอดให้ไทย “ได้” มากขึ้นได้ยังไงบ้างต่างหาก ซึ่งนั่นก็คือ Digital Nomad  ที่มาอยู่เมืองไทย มาใช้จ่ายเงิน และช่วยทำให้ไทยเป็นที่รู้จักมากขึ้น หลายคนติดใจจนชวนพ่อแม่เดินทางตามมาเที่ยวที่ไทยด้วย

ถ้าจะขยายผลให้ตลาด Long Stay แบบนี้เติบโตมากขึ้นแบบเป็นระบบได้ก็ยิ่งจะทำให้ประเทศไทยได้ประโยชน์มากขึ้นไปอีก

แต่แน่นอนว่ามีได้ก็ต้องมี “เสีย” เพราะการที่ Digital Nomad  เข้ามาก็ไม่ได้ทำแต่เรื่องดีๆ  อย่างเดียว บางคนบางส่วนก็อาจสร้างผลกระทบในแง่ร้ายให้กับบ้านเมืองและสิ่งแวดล้อมของเราด้วย

เทรนด์ Remote Worker

นอกจากนี้ กลุ่ม Remote Worker หรือคนที่ทำงานแบบไม่จำเป็นต้องเข้าออฟฟิศ มีปริมาณมากขึ้นทั่วโลก คนเหล่านี้อาจไม่ได้เปลี่ยนไลฟ์สไตล์เป็น Digital Nomad ที่อยู่ไม่เป็นหลักแหล่งเสียทีเดียว แต่อาจแค่มีทริปไปทำงานในเมืองอื่นที่ไม่ใช่เมืองของตนเอง และไปครั้งละเป็นเดือนๆ 

อย่างในอเมริกาเอง คนที่อาศัยอยู่ตอนเหนือของประเทศ ในช่วงฤดูหนาว ก็หนีหนาวไปอยู่เมืองทางใต้อย่าง Florida กันเป็นเรื่องปกติ

แน่นอนว่า Remote Worker พวกนี้ ส่วนหนึ่งก็มาอยู่ที่เมืองไทยด้วยเช่นกัน

ปัญหาที่รอคำตอบ

จากการติดตามประเด็นนี้ของผู้เขียนพบว่า “มีคำถามมากมายที่ Digital Nomad ถาม และรอคำตอบ” ทั้งในเรื่องของภาษี ประเภทการขอ Visa และ Work Permit ว่ากรณีใดบ้างต้องขอ หรือไม่ต้องขอ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าอยู่จนครบกำหนด Visa แล้ว ควรไปเสียเงินต่ออายุดี หรือบินไปต่างประเทศแล้วบินกลับเข้ามาเพื่อให้ตรวจลงตราใหม่ดี (จนมีศัพท์ที่เรียกกันติดปากว่า Visa run) 

แต่ที่น่าแปลกคือ ส่วนใหญ่เป็นการถามกันเองตอบกันเอง โดยฝ่ายรัฐของไทยมักจะไม่ค่อยมีความชัดเจนในการให้ข้อมูลประเด็นต่างๆ เหล่านี้ หรือไม่มีทางเลือกที่ดีพอให้เลือก จนสุดท้าย Digital Nomad ก็ดิ้นรนกันจนได้เองแบบทุลักทุเล เช่น การทำ Visa run เป็นต้น

ลองอ่านคำถามคำตอบบางส่วนได้ที่ https://www.thaiembassy.com/thailand/thailand-digital-nomad-visa-and-work-permit 

โอกาสสร้างรายได้ของคนไทย

ถ้าเพียงแต่มีความชัดเจนเรื่องกฎหมายในด้านต่างๆ เอื้อให้คนไทยสร้างรายได้จาก Digital Nomad ได้อย่างเหมาะสมก็น่าจะเป็นโอกาสที่ดี เช่น ความชัดเจนเรื่องการปล่อยเช่าคอนโดแบบรายเดือนให้กับผู้เช่าจากต่างประเทศ แค่เรื่องนี้เรื่องเดียวถ้ามีความถูกต้องชัดเจน เจ้าของห้องคอนโดจำนวนมากก็จะสร้างรายได้กันเป็นกอบเป็นกำ และอสังหาริมทรัพย์ที่ว่างอยู่ก็จะถูกใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ และถูกต้องตามกฎหมาย

หรืออาจมีนักธุรกิจหัวใสบางคนทำแพลตฟอร์มออนไลน์ ให้บริการจับคู่อสังหาริมทรัพย์ของคนไทย กับผู้สนใจเข้าพักจากต่างประเทศก็เป็นไปได้ (ใครทำแล้วบอกด้วยนะ ผู้เขียนจะขอไปแจมด้วยครับ)

นั่นเป็นเพียงแค่ตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วผู้เขียนเชื่อว่ายังมีอีกหลายๆ มุมที่สามารถสร้างธุรกิจเกี่ยวเนื่องจาก Digital Nomad ได้อีกมากมาย ซึ่งเป็นการสร้างอาชีพใหม่ๆ ให้กับคนไทยด้วยเช่นกัน

You may also like

The-Perspective แหล่งรวมองค์ความรู้ มุมมองจากผู้เชี่ยวชาญ เกาะติดข่าวสารคาดการณ์อนาคต

Tel:  081-619-9494
Email:
editor@the-perspective.co
naiyanaone@gmail.com

Total Visit:

207,438

207,438

Editors' Picks

Latest Posts

The-Perspective © All Right Reserved.

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการใช้งานของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อเก็บข้อมูลและรวบรวมสถิติวิจัยทางด้านการตลาด การวิเคราะห์แนวโน้ม ตลอดจนนำมาปรับปรุง และควบคุมการทำงานของเว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอม ท่านยังสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้ปกติ ยอมรับทั้งหมด