บทความโดย เฟลิกซ์ เบิร์นดท์ ผู้อำนวยการฝ่ายขาย ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ Paessler AG
ปี 2567 กำลังใกล้เข้ามา เครื่องมือทางธุรกิจและเทคโนโลยีเกิดใหม่ที่สำคัญมากมายต่างพร้อมที่จะช่วยผลักดันการทำทรานส์ฟอร์เมชันในด้านการมอนิเตอร์ระบบให้ยั่งยืน ที่ผ่านมาองค์กรในไทยให้ความสนใจกับการมอนิเตอร์ระบบไอที และตระหนักถึงประโยชน์ของการมอนิเตอร์โครงสร้างระบบไอที ไม่ว่าจะในฐานะฟันเฟืองหลักในกลยุทธ์ไอทีขององค์กรที่ช่วยมอนิเตอร์ปัจจัยในสภาพแวดล้อม
ในรายงาน “ทิศทางที่ต้องจับตา: การมอนิเตอร์ระบบ คือ เส้นทางสู่ระบบ IT ที่ยั่งยืน” ที่จัดทำโดย Paessler ระบุว่า องค์กรไทยตระหนักถึงประโยชน์ของการมอนิเตอร์โครงสร้างระบบไอทีในหลายด้าน เช่น การตรวจจับความชื้น คาร์บอนไดออกไซด์ ฯลฯ (100%) การปรับปรุงและลดการใช้พลังงาน (95%) การแจกแจงตัวเลขการประหยัดทรัพยากร (92%) การวิเคราะห์ความจำเป็นที่แท้จริงของอุปกรณ์ไอที (86%) และลดการปล่อยมลพิษ (78%) ดังนั้นการมอนิเตอร์ระบบไอทีภายใต้กลยุทธ์ที่ยั่งยืนและครอบคลุมจึงมีความสำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจในปี 2024
ทิศทางการมอนิเตอร์ระบบไอทีในปี 2567 และปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบกับความเปลี่ยนแปลงในปี 2567 นั้น Paessler ได้คาดการณ์แนวโน้มที่สำคัญบางส่วน ทั้งจากมุมมองของบริษัทเองก็ดีหรือจากผู้เชี่ยวชาญด้านการมอนิเตอร์โครงสร้างระบบไอที และระบบเครือข่ายก็ดี โดยปี 2567 คาดการณ์เทคโนโลยีสำคัญ ดังนี้
1. อุปกรณ์ในโครงสร้างระบบไอที จะมีความสำคัญเพิ่มขึ้นควบคู่ไปกับการเติบโตของคลาวด์
ในปี 2567 สิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนก็คือ ความเปลี่ยนแปลง เพราะธุรกิจต่างๆ จะมีระบบมากขึ้นในเครือข่ายไอทีของบริษัท และต้องการเห็นข้อมูลที่มากขึ้น ควบคุมโครงสร้างระบบได้มากขึ้น ซึ่งล้วนมีความสำคัญต่ออนาคตทั้งสิ้น ยิ่งความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเร็วเท่าใด คุณสมบัติด้านการปรับแต่งระบบก็จะยิ่งเพิ่มความสำคัญมากขึ้น
เพราะคงไม่มีบริษัทใดที่สามารถลงทุนกับโซลูชันใหม่ๆ ได้ตลอดเวลาในยุคแห่งนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเช่นนี้ ดังนั้นผลิตภัณฑ์ที่สามารถเพิ่มเติมต่อยอดคุณสมบัติและความสามารถจึงกลายเป็นเรื่องสำคัญ กลยุทธ์การให้ความสำคัญกับคลาวด์เป็นแนวทางที่ดีและน่าสนใจ แต่ต้องระวังไม่ให้บริษัทเดินตาม “เทรนด์ใหม่” จนหลงลืมหลักการพื้นฐานสำคัญ เพราะไม่ว่าอย่างไรเราก็ต้องเชื่อมต่อคลาวด์ผ่านสายและอุปกรณ์อยู่ดี ดังนั้นอุปกรณ์ในโครงสร้างระบบไอทีจึงมีความสำคัญมากขึ้นไปโดยปริยาย ซึ่งการมองระบบไอทีและส่วนประกอบต่างๆ แยกจากกันนั้นไม่เพียงพอในยุคนี้และอนาคต เราจึงควรให้ความสำคัญกับระบบไอทีในมุมของฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์ด้วยเช่นกัน
2. ภัยคุกคามบนโลกไซเบอร์: กลยุทธ์ Zero Trust จะไม่ได้ผลหากไม่ครอบคลุมถึงผลิตภัณฑ์ที่คุณใช้
ระบบไอทีเป็นหัวใจสำคัญของทุกธุรกิจในทุกวันนี้ ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเชื่อมต่อกับเครือข่าย และบริษัทต่างๆ ก็จำเป็นต้องติดตั้งเฟรมเวิร์กด้านการรักษาความปลอดภัยระบบอย่างเหมาะสม ยิ่งในยุคที่การโจมตีทางไซเบอร์มีจำนวนเพิ่มขึ้นและซับซ้อนยิ่งกว่าเดิม ผลกระทบจากเครือข่ายไอทีก็ยิ่งชัดเจน ดังนั้นกลยุทธ์ด้านความปลอดภัยใดๆ ก็ตาม รวมถึงเรื่อง Zero Trust นั้น ก็ควรต้องสอดคล้องและใช้ได้กับผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่ใช้งาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากบริษัทต้องการขยายศักยภาพ รักษาคนเก่งไว้ในที่ทำงาน และปรับตัวให้เข้ากับโมเดลการทำงานแบบไฮบริดให้ดียิ่งขึ้น เมื่อระบบไอทียิ่งกลายเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐาน ก็ยิ่งมีการสร้างและประมวลผลข้อมูลมากขึ้น ซึ่งนั่นก็ทำให้ระบบไอทียิ่งเปราะบางขึ้นตามไปด้วย ด้วยเหตุนี้เองการขยายหลักการ Zero Trust ไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่คุณใช้จึงเป็นเรื่องสำคัญ
เพราะขณะนี้ผู้จัดการฝ่ายไอทีไม่สามารถนั่งเฉย แล้วปล่อยให้ซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งจัดการทุกอย่างได้เองอย่างวางใจได้อีกต่อไป สถานการณ์ต่างๆ ซับซ้อนขึ้น ผู้บริหารจึงต้องการ “เห็นภาพรวม” ของระบบทุกๆ ส่วน ทั้งระบบเก่า ระบบคลาวด์ และระบบเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติการ (OT) เพื่อให้มั่นใจว่าเราจะนำหน้าอาชญากรไซเบอร์หนึ่งก้าวแม้จะอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ไม่แน่นอนก็ตาม
3. ความสามารถในการเข้าใจสถานะระบบจะช่วยเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า
เราจะก้าวสู่ยุคใหม่ที่ไม่เหมือนเดิมในปีหน้าเมื่อธุรกิจต่างๆ พากันเดินหน้าสู่ “การเฝ้าดูและทำความเข้าใจระบบ” หรือ Observability ทุกวันนี้ผู้จัดการฝ่ายไอทีส่วนใหญ่มีซอฟต์แวร์การมอนิเตอร์ระบบที่รองรับการคาดการณ์ได้อยู่แล้ว แต่คุณสมบัติด้านการเฝ้าดูและทำความเข้าใจระบบนั้น จะทำให้การมอนิเตอร์ระบบทำงานได้ดีขึ้น และผู้จัดการฝ่ายไอทีก็จะเข้าใจความสัมพันธ์ของส่วนต่างๆ ในระบบได้กระจ่างขึ้น การมอนิเตอร์ระบบทำให้เราเห็นว่าจุดใดที่อาจก่อให้เกิดปัญหาบ่อย ส่วนการเฝ้าดูและทำความเข้าใจระบบนั้นจะช่วยเปิดเผยสถานการณ์ที่ซ่อนเร้น
ผู้จัดการฝ่ายไอทีที่สามารถมองเห็นระบบที่ต้องรับมือในแต่ละวันได้ชัดเจน ก็จะยิ่งก้าวนำการแข่งขันทางธุรกิจ เช่นเดียวกับบริษัทที่ให้ความสำคัญกับด้านไอทีถือเป็นบริษัทที่มีนวัตกรรม และจะสามารถปรับตัวให้สอดคล้องตามความต้องการของลูกค้าได้ในที่สุด ความโปร่งใสยังจะกลายเป็นจุดแตกต่างที่สำคัญเพราะจะทำให้การสื่อสารกับลูกค้าเป็นไปในแบบที่ไม่เคยทำได้มาก่อน และทีมไอทีที่โปร่งใสจะพร้อมแชร์ข้อมูลกับบุคคลที่ไม่ใช่ฝ่ายเทคนิค เพราะท้ายที่สุดแล้วข้อมูลเหล่านั้นก็สามารถนำไปใช้ในเรื่องการบริการแบบช่วยเหลือตนเองได้นั่นเอง
4. การผสมผสานระหว่าง AI และมนุษย์คือที่สุดของสองโลก
IDC คาดการณ์ว่า CIO ราว 80% จะใช้ประโยชน์จาก AI ภายในปี 2571 ทั้งนี้เทคโนโลยีมีไว้เพื่อช่วยผู้ดูแลระบบไอทีไม่ใช่เพื่อช่วงชิงตำแหน่งงาน ที่จริงผู้ดูแลระบบที่เป็นมนุษย์คือส่วนที่มีปัญญาอัจฉริยะที่สุดไม่ว่าในระบบใดๆ ก็ตาม ดังนั้นแม้ซอฟต์แวร์การมอนิเตอร์ระบบจะช่วยให้คำแนะนำที่ดีและตรงประเด็นมากเท่าใด แต่ผู้จัดการฝ่ายไอทีที่มากประสบการณ์ก็ยังเป็นกลไกสำคัญในการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวให้เกิดประโยชน์ได้สูงสุดอยู่ดี
5. การมอนิเตอร์ระบบไอทีจะกลายเป็นแนวทางการปฏิบัติที่สำคัญต่อเรื่อง ESG
Paessler เชื่อว่าความยั่งยืนเป็นหนึ่งในสามภารกิจสำคัญของธุรกิจต่างๆ ในอาเซียนในอีกสามปีข้างหน้า ยิ่งการตรวจสอบและการรายงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) กลายเป็นเรื่องสามัญมากขึ้นเท่าใด องค์กรก็ยิ่งต้องเร่งหาทางคิดคำนวณต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมในทุกกระบวนการธุรกิจให้ได้ครบถ้วน
ผู้บริหารย่อมต้องการทราบว่าระบบของตนเองทำงานอย่างไร มีประสิทธิภาพเพียงใด และทำงานอะไรได้บ้าง การมอนิเตอร์ระบบจะช่วยตอบคำถามว่าจุดสมดุลอยู่ที่ใด ทรัพยากรใดที่บริษัทใช้ไป ประโยชน์ที่ได้รับคุ้มค่าหรือไม่ และจะหาทางลดปัญหาได้อย่างไรซึ่งคุณสมบัติด้านการทำสแน็ปช็อตระบบและการวิเคราะห์ตามจุดต่างๆ จะทำให้ผู้จัดการฝ่ายไอทีเข้าใจในเรื่องคาร์บอนฟุตพรินต์ของแต่ละกระบวนการ และพิจารณาได้ว่ามีการสำรองข้อมูลเอาไว้ในแบบที่เหมาะสมหรือไม่อย่างไร อีกทั้งการมอนิเตอร์ระบบยังช่วยให้มองเห็นค่าที่สำคัญเพื่อช่วยให้เข้าใจถึงสถานะของระบบในด้านต่างๆ ได้อย่างชัดเจนที่สุดอีกด้วย