บทความโดย ม.ล.ชัยวัฒน์ ชยางกูร
คอลัมน์ The Leadership ในสัปดาห์นี้ นำเสนอเนื้อหาต่อเนื่องจากครั้งที่แล้ว Module 4 ตอนสอง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ การบริหารเรื่อง “Leader and Coaching Skills”
ครั้งนี้ว่าด้วย Module 4: Knowing how to communicate with team เรียนรู้การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพกับทีมที่ถูกต้อง ตอนสอง กล่าวถึง ระดับของการสื่อสาร และภาษาในการสื่อสาร คือ
ระดับของการสื่อสาร มี 6 ระดับ ดังนี้
1. การสื่อสารภายในบุคคล ได้แก่ การคิด การใคร่ครวญ ไตร่ตรอง การเตือนสติตัวเอง
2. การสื่อสารระหว่างบุคคลเป็นการสื่อสารระหว่าง คน 2 คน ทั้งการสื่อสารซึ่งหน้าและการสื่อสารผ่านสื่อ เช่น โทรศัพท์ อีเมล์
3. การสื่อสารแบบกลุ่ม เป็นการสื่อสารกลุ่มย่อยตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป เช่น การประชุม การสนทนากลุ่ม
4. การสื่อสารภายในองค์กร ได้แก่ การสื่อสารในรูปแบบต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจ และความสัมพันธ์อันดีภายในองค์กร
5. การสื่อสารสาธารณะ ได้แก่ การสื่อสารไปสู่กลุ่มคนจำนวนมาก เช่น การหาเสียง การพูดบนเวทีขนาดใหญ่ซึ่งส่วนใหญ่เราไม่รู้จัก
6. การสื่อสารมวลชน ได้แก่ การสื่อสารไปยังผู้รับสารที่เป็นมวลชนหรือคนหมู่มาก ที่แตกต่างกันทั้งเพศ อาชีพ การศึกษา ภูมิลำเนา และไม่รู้จักกัน เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เป็นการสื่อสารที่ยากที่สุด
ภาษาในการสื่อสารมี 2 รูปแบบ ดังนี้
– [ ] วัจนภาษา (Verbal Language) คือ ภาษาพูดและภาษาเขียน
– [ ] อวัจนภาษา (Non-Verbal Language) คือ ภาษาท่าทาง และการแสดงออกต่างๆ ที่นอกเหนือจากการพูดและการเขียน
สัจธรรมของการสื่อสาร ใช้พรแสวงมากกว่าพรสวรรค์ อาจถูกตีความผิดพลาด
– ความหมายมาจากวิธีการพูดมากกว่าสิ่งที่เราพูด หากคำพูดขัดแย้งกับท่าทาง ท่าทางน่าเชื่อกว่า
– เป็นกระบวนการซับซ้อน ไม่นิ่งและเกิดตลอดเวลา
ถ้าต้องการเป็นผู้สื่อสารที่ดี เรามาดูความสามารถดังต่อไปนี้
1. ผู้ได้ชัยชนะ สื่อสารได้ดีมีคุณค่า และมีผลลัพธ์ดีเยี่ยม
– [ ] เห็นได้เสมอว่าเป็นผู้ที่มีทักษะที่ดีในการเขียน พูดและภาษาร่างกาย ในการสื่อสารไม่เพียงแต่บรรลุเป้าหมายแต่เกิดพลังในการทำงานหรือกระตุ้นให้เกิดผลลัพธ์
– [ ] มีความสามารถพูดเรื่องยากๆ ให้เข้าใจง่ายต่อความเข้าใจและเรียนรู้
– [ ] บ่อยครั้งที่ช่วยเพื่อนรอบตัวในการแนะนำ และการนำเสนอที่ถูกต้อง
– [ ] รู้จักการใช้คำถามที่ดีมีนัยสำคัญในการนำไปสู่การจูงใจ และโน้มน้าวให้คนอื่นเห็นด้วยและผลักดันให้เกิดนวัตกรรมที่ดีในการทำงานนั้นๆ
2. จับประเด็นสำคัญ ในที่ประชุม ในคนหมู่มาก หรือ One on One สิ่งที่ไม่มีใครเอ่ย โดยสังเกต จากภาษาร่างกาย หรือหน้าตาท่าทาง
– [ ] ตั้งแนวรุก แนวรับในการสื่อสาร อย่างเป็นระบบที่ดีนำไปสู่การทำให้เกิดพลังเมื่อมีการสื่อสาร ไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นไปในรูปแบบใด
– [ ] ทุกครั้งที่จบการสื่อสารต้องขอการยอมรับและยืนยันมั่นคงในเป้าหมายและสาระที่จะสื่อสารเสมอ
– [ ] เป็นคนตรงสู่เป้า เมื่อสื่อสาร และไม่เคยผิดคำมั่นสัญญา ให้กำลังใจคนอยู่เสมอ ที่อยู่รอบข้างไม่ว่าจะเป็นลูกน้องหรือเพื่อนร่วมงาน เป็นต้น
– [ ] ดูแล้วไม่ใช่เรื่องง่ายแต่เป็นเรื่องที่ฝึกหัดกันได้ ขอให้ท่านสื่อสารเก่งเพื่อเป็นผู้นำที่ดีของทีมและองค์กร สัปดาห์หน้าตามต่อไปใน Module 5: Energy Leader as a good teaching เป็นผู้นำที่เป็นผู้สอน (Part 1)