Home » เจาะอดีต: ทำไมกุมภาพันธ์ถึงมี 28 วัน?/ปฏิทินมี 10 เดือน

เจาะอดีต: ทำไมกุมภาพันธ์ถึงมี 28 วัน?/ปฏิทินมี 10 เดือน

โดย 2 Cents
305 views

คอลัมน์ เรื่องเล่าจากต่างแดน โดย 2 Cents

มีใครเคยสงสัยไหมว่า ทำไม? กุมภาพันธ์มีวันน้อยกว่าเดือนอื่นๆ และรู้ไหม 1 ปี เคยมีแค่ 10 เดือน เรื่องนี้มีประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ จึงนำมาเล่าค่ะ

เล่าสู่กันฟัง ว่าด้วยเรื่องปฏิทิน… บทความนี้แก้ไขจากโพสต์ที่เราเขียนบนเฟสบุ๊กเมื่อหลายปีมาแล้ว เอามาฝากเผื่อใครเคยสงสัยเหมือนเรานะคะ

ตอน ม. ปลาย เราเรียนสายวิทย์ ชีวะ เรียนวิชาเคมี เราจะท่องเลขโรมัน 1 ถึง 10 คือ โมโน ได ไตร เตรตะ เพนตะ เฮกซะ เฮปตะ ออคตะ โนนา เดคา

เพราะเป็นชื่อเรียกของสารประกอบที่จะบอกได้ว่ามีธาตุอะไรกี่โมเลกุล เช่น Phosphorus Pentachloride จะมี ฟอสฟอรัส 1 โมเลกุล และคลอไรด์ 5 โมเลกุล มีสัญญลักษณ์ทางเคมีคือ PCl₅

แต่ทำไมในปฏิทิน October, November, December มันถึงเป็นเดือน 10, 11, 12 มันควรจะเป็น 8, 9, 10 สิ

เราสงสัยมาตั้งแต่ตอนนั้น แต่บางช่วงชีวิตวุ่นวายมากก็ไม่มีเวลาคิด จนมาทำงานไม่รู้ยังไงคุยกับเพื่อนร่วมงานคนนึงเรื่องนี้ เธอบอกเราเป็นคนคิดอะไรละเอียดมากเพราะที่เราสงสัยนั้นไม่ผิดหรอก เดิมทีนั้นปฏิทินมี 10 เดือน คือ เดือนมีนาคม ถึง ธันวาคม และ October, November, December นั้นคือเดือน 8, 9, 10 จริงๆ

เราไปหาข้อมูลต่อจากหลายแหล่ง ซึ่งแต่ละแหล่งอาจจะแตกต่างกันบ้างแต่โดยรวมจะประมาณนี้นะคะ

ปฏิทินดั้งเดิมนั้นมี 10 เดือน คือเดือนมีนาคม ถึง ธันวาคม และ October, November, December นั้นคือเดือน 8, 9, 10 จริงๆ แต่ละเดือนมี 30 – 31 วัน โดยช่วงธันวาคมถึงมีนาคมเป็นช่วงฤดูหนาว ซึ่งสังคมโรมันโบราณเป็นสังคมเกษตรกรรมจึงไม่มีความจำเป็นต้องติดตามวันหรือเดือนมากนักในช่วงฤดูหนาว

ต่อมาภายหลังกษัตริย์ โรมันต้องการให้ปฏิทินรอบจันทรคติ 12 รอบ ซึ่งใช้เวลา 355 วัน เขาจึงเพิ่ม มกราคม และ กุมภาพันธ์ ไปในปฏิทินให้มี 12 เดือน โดยแต่ละเดือนจะมี 29 หรือ 31 วัน เพราะในสมัยนั้นเขา เชื่อว่าเลขคู่เป็นเลขไม่ดี

แต่จะให้ 12 เดือนมี 29 หรือ 31 วันหมดมันไม่พอดี 355 วัน ต้องมีเดือนนึงเป็นเลขคู่ เดือนกุมภาพันธ์ถูกเลือกให้ เป็นเลขคู่คือ 28 วัน เนื่องจากเป็นช่วงที่ชาวโรมันไว้อาลัยผู้เสียชีวิต

แต่หลังจากเพิ่มเดือน มกราคมกับกุมภาพันธ์ แล้วไม่มีการเปลี่ยนชื่อเดือนดั้งเดิมของเดือน October, November และ December สามเดือนนี้ก็เลยถูกดันออกไปเป็นเดือน 10, 11, 12 ผิดตำแหน่งที่ควรจะเป็น

ต่อมาอีก Julius กับ Augustus Caesar เรียนรู้เพิ่มว่าปฏิทินสุริยคติจริงๆ มี 365 วัน เขาจึงเพิ่ม 10 วัน เข้าไปในปฏิทินโดยให้เดือนทั้งหมดมี 30 หรือ 31 วัน ยกเว้นเดือนกุมภาพันธ์ที่เขายังทิ้งไว้ที่ 28 วัน 

และเขาก็รู้ด้วยว่าเวลาที่โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ครบหนึ่งรอบนั้นจริงๆ คือ 365 วัน กับอีก 6 ชั่วโมง ไม่ใช่ 365 วันพอดีเป๊ะ เขาจึงเพิ่มหนึ่งวันเข้าไปในปฏิทินทุกสี่ปี

และเพื่อให้เกียรติจากผลงานในการปรับเปลี่ยนปฏิทิน ให้ถูกต้องขึ้น เดือนที่ 7 และ 8 จึง ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นเดือน July และ August ตามชื่อของเขาทั้งสอง ปฏิทินที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้จึงเป็นแบบนี้
—–
และถ้าใครสงสัยว่าทำไมทุกสี่ปีเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้องมี 29 วัน ซึ่งภาษาอังกฤษเขาเรียกว่า leap day และปีที่มี 366 วันนี้เขาเรียกว่า leap year

นั่นก็เพราะเวลาที่โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ครบหนึ่งรอบนั้นจริงๆ คือ 365 วัน กับอีก 6 ชั่วโมง ไม่ใช่ 365 วันพอดีเป๊ะ

ดังนั้นทุก 4 ปีเขาจึงมี leap day คือวันที่ 29 กุมภาพันธ์ เพื่อจะได้ครอบคลุมเศษ 6 ชั่วโมงนี้

อ่านถึงตรงนี้หลายคนคงจะคิดว่า แล้วทำไมเราต้องครอบคลุมให้หมดด้วยหล่ะ แค่ 6 ชั่วโมงเอง ให้ทุกปีมี 365 ไม่ต้องสนใจ 6 ชั่วโมงนี้ ทิ้งมันไปไม่ได้เหรอ

คำตอบคือ ถ้าเราไม่มี leap year หลายร้อยปีผ่านไปฤดูกาลมันก็จะเปลี่ยนเวลาไป เช่น ฤดูร้อน (เอาของอเมริกานะคะ เพราะไทยเราร้อนทั้งปี) จากที่เคยเป็นช่วง กรกฎาคม-สิงหาคม ผ่านไปหลายร้อยปีก็อาจจะกลายเป็นช่วง พฤศจิกายน-ธันวาคม ไปเลย

สมัยโรมันที่เขาคิดค้นปฏิทินขึ้นมาเขาจึงมี leap year เพื่อให้ฤดูกาลยังคงอยู่ตามปฏิทิน ไม่ขยับเมื่อเวลาผ่านไปนานๆ

พูดถึงก็น่าทึ่งนะ ที่หลายพันปีก่อนเขารู้/คิดได้ขนาดนี้

(เว็บไซต์ The-Perspective ขอใช้ภาพปฏิทินของยิบอินซอย และขอบคุณมา ณ โอกาสนี้)

You may also like

The-Perspective แหล่งรวมองค์ความรู้ มุมมองจากผู้เชี่ยวชาญ เกาะติดข่าวสารคาดการณ์อนาคต

Tel:  081-619-9494
Email:
editor@the-perspective.co
naiyanaone@gmail.com

Total Visit:

155,974

155,974

Editors' Picks

Latest Posts

The-Perspective © All Right Reserved.

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการใช้งานของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อเก็บข้อมูลและรวบรวมสถิติวิจัยทางด้านการตลาด การวิเคราะห์แนวโน้ม ตลอดจนนำมาปรับปรุง และควบคุมการทำงานของเว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอม ท่านยังสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้ปกติ ยอมรับทั้งหมด